อรัญญสูตร
(หันทะ มะยัง อะรัญญะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)
ปัญจะหิ ภิกขะเว
ธัมเมหิ สะมันนาคะโต, ภิกขู อานาปานะสะติง
พะหุลีกะโรนโต, นะ จิรัสเสวะ อะกุปปัง
ปะฏิวิชฌะติ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ, ทำให้มากซึ่ง
อานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่, ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก,
กะตะเมหิ ปัญจะหิ ธรรม ๕ ประการอย่างไรเล่า,
อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้,
อัปปัฏโฐ โหติ เป็นผู้มีธุระน้อย,
อัปปะกิจโจ โหติ เป็นผู้มีกิจน้อย,
สุภะโร เป็นผู้เลี้ยงง่าย,
สุสันโต โส ชีวิตะปะริกขาเรสุ เป็นผู้มีความยินดียิ่งในบริขารแห่งชีวิต,
อัปปะหาโร โหติ เป็นผู้มีอาหารน้อย,
อะโนทะริกัตตัง อะนุยุตโต ประกอบความเป็นผู้ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง,
อัปปะมิทโธ โหติ ย่อมเป็นผู้มีความง่วงนอนน้อย,
ชาคะริยัง อะนุยุตโต ประกอบความเพียรเป็นผู้ตื่นอยู่,
อะรัญญิโก โหติ ย่อมเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร,
ปันตะเสนาสะโน เป็นผู้อยู่ในเสนาสนะอันสงัด,
ยะถาวิมุตตัง จิตตัง ปัจจะเวกขะติ, ย่อมพิจารณาตามจิตที่หลุดพ้น,
อิเม โข ภิกขะเว ปัญจะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะโต,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล,
ภิกขุ อานาปานะสะติง พะหุลีกะโรนโต, ทำให้มากซึ่งอานาปานสติกัมมัฏฐานอยู่,
นะ จิรัสเสวะ อะกุปปัง ปะฏิวิชฌะติ, ย่อมแทงตลอดธรรมที่ไม่กำเริบต่อกาลไม่นานนัก,
อิติ, ด้วยประการฉะนี้แล.
———————–