สามเณรสิกขา

สามเณรสิกขา

(นำ) หันทะ   มะยัง   สามะเณระสิกขาปะทัง   ภะณามะ เส.

(รับ) อะนุญญาสิ   โข   ภะคะวา,         พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,

สามะเณราณัง  ทะสะสิกขาปะทานิ,        ซึ่งสิกขาบท ๑๐ ประการแก่สามเณรทั้งหลาย

เตสุ  จะ  สามะเณเรหิ   สิกขิตุง,            และเพื่อให้สามเณรศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ คือ

๑.     ปาณาติปาตา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป,

๒.     อะทินนาทานา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้,

๓.     อะพรัหมะจะริยา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติในสิ่งที่มิใช่พรหมจรรย์,

๔.     มุสาวาทา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ,

๕.     สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากเหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือการดื่มกินสุราและเมรัยสิ่งเสพติดทั้งหลาย,

๖.     วิกาละโภชะนา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล,

๗.     นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา   เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการดูการฟ้อนรำ การขับเพลง การดนตรี การดูการเล่นชนิดเป็นข้าศึกต่อกุศล,

๘.     มาลาคันธะวิเลปะนะธาระนะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา  เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการทัดทรงสวมใส่ การตกแต่งตนด้วยพวงมาลา  ด้วยเครื่องหอม และเครื่องผัดทา,

๙.     อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา  เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการนั่งนอน  บนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่,

๑๐.   ชาตะรูปะระชะตะปะฏิคคะหะณา  เวระมะณี,

             เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการรับเงินและทอง,

        อะนุญญาสิ   โข   โส   ภะคะวา,               

             พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,

        ทะสะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัง   สามะเณรัง   นาเสตุง,

             เพื่อยังสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์  ๑๐  ให้ฉิบหาย,

        กะตะเมหิ   ทะสะหิ,                   องค์  ๑๐  อะไรบ้าง ?

        ปาณาติปาตี  โหติ,                   คือ  สามเณรชอบทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป,

        อะทินนาทายี  โหติ,                   สามเณรชอบถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้,

        อะพรัหมะจารี  โหติ,                  สามเณรไม่ชอบประพฤติพรหมจรรย์,

        มุสาวาที  โหติ,                        สามเณรชอบพูดปด,

        มัชชะปายี  โหติ,                      สามเณรชอบดื่มเสพของเมา,

        พุทธัสสะ  อะวัณณัง  ภาสะติ,       สามเณรกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า,

        ธัมมัสสะ  อะวัณณัง  ภาสะติ,       สามเณรกล่าวติเตียนพระธรรม,

        สังฆัสสะ   อะวัณณัง  ภาสะติ,       สามเณรกล่าวติเตียนพระสงฆ์,

        มิจฉาทิฏฐิโก   โหติ,                  สามเณรผู้มีความเห็นผิดจากพระธรรมวินัย,

        ภิกขุณีทูสะโก  โหติ,                  สามเณรชอบประทุษร้ายภิกษุณี,

        อะนุญญาสิ  โข   ภะคะวา,          พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,

        อิเมหิ   ทะสะหิ   อังเคหิ   สะมันนาคะตัง  สามะเณรัง  นาเสตุนติ,

เพื่อยังสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ เหล่านี้ให้ฉิบหาย,  ดังนี้,

        อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา            พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล,

        ปัญจะหิ   อังเคหิ   สะมันนาคะตัสสะ   สามะเณรัสสะ   ทัณฑะกัมมัง  กาตุง,

             เพื่อทำทัณฑกรรมคือลงโทษแก่สามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ อย่าง,

        กะตะเมหิ   ปัญจะหิ,                องค์ ๕  อย่าง  อะไรบ้าง,

        ภิกขูนัง  อะลาภายะ  ปะริสักกะติ,  สามเณรพยายามทำให้ภิกษุเสื่อมลาภที่ควรจะได้,

        ภิกขูนัง   อะนัตถายะ   ปะริสักกะติ,

สามเณรพยายามทำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลาย,

        ภิกขูนัง  อะนาวาสายะ   ปะริสักกะติ,

สามเณรพยายามทำไม่ให้ภิกษุอยู่อย่างสงบ,

        ภิกขุ   อักโกสะติ   ปะริภาสะติ,     สามเณรด่าและพูดขู่ภิกษุทั้งหลาย,

        ภิกขุ   ภิกขูหิ   เภเทติ,               สามเณรยุให้ภิกษุแตกกัน,

        อะนุญญาสิ  โข  ภะคะวา,           พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วแล.

        อิเมหิ ปัญจะหิ  อังเคหิ  สะมันนาคะตัสสะ สามะเณรัสสะ ทัณฑะกัมมัง กาตุนหิ

              เพื่อทำทัณฑกรรมแก่สามเณรผู้ทำผิดประกอบด้วยองค์ ๕ อย่างเหล่านี้ ดังนี้แล.

———————–