ปัพพชิตอภิณ๎หปัจจเวกขณปาฐะ
(นำ) หันทะ มะยัง ปัพพะชิตะอะภิณ๎หะปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส.
(รับ) ทะสะ อิเม ภิกขะเว ธัมมา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ธรรมทั้งหลาย ๑๐ ประการเหล่านี้ มีอยู่,
ปัพพะชิเตนะ อะภิณ๎หัง ปัจจะเวกขิตัพพัง,
เป็นธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาโดยแจ่มชัดอยู่เนืองนิจ,
กะตะเม ทะสะ,
ธรรมทั้ง ๑๐ ประการนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, บัดนี้เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว, อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ, เราจะต้องทำอาการกิริยานั้นๆ,
๒. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, ความเลี้ยงชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่นเราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย,
๓. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, อาการกายวาจาอย่างอื่น ที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก, ไม่ใช่เพียงเท่านี้,
๔. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, ตัวของเราเอง ติเตียนตัวเราเองโดยศีลได้หรือไม่,
๕. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนเราโดยศีลได้หรือไม่,
๖. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งนั้น,
๗. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เรามีกรรมเป็นของตัว, เราทำดีจักได้ดีทำชั่วจักได้ชั่ว
๘. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, วันคืนล่วงไป ล่วงไป, บัดนี้เราทำอะไรอยู่
๙. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, เรายินดีในที่สงัดหรือไม่,
๑๐. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า, คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่, ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน, ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง,
———————–