วิถีจิตก่อนเข้าสู่มรรควิถี
๑. อดีตภวังค์ (ภวังค์อดีต)
๒. ภวังคจลนะ (ภวังค์สะเทือน)
๓. ภวังคุปัจเฉทะ (ตัดกระแสภวังค์)
๔. มโนทวาราวัชชนะ (ลงทางมโนทวาร)
มรรควิถีของมันทบุคคล

สำหรับชวนจิตทั้ง ๗ ของมันทบุคคล คือบริกรรม อุปจาระ อนุโลม โคตรภู มรรค และผลญาณ ๒ ขณะ แล้วมีภวังค์มาคั่น จากนั้นจึงเป็นปัจจเวกขณญาณ พิจารณามรรคผลที่ตนได้บรรลุแล้ว และพิจารณากิเลสที่ละได้แล้วและยังเหลืออยู่ตลอดถึงการพิจารณาพระนิพพาน สำหรับอนุโลมญาณของมันทบุคคล คือบริกรรม อุปจาระ อนุโลม ทั้ง ๓ นี้รวมกัน
มรรควิถีของติกขบุคคล

สำหรับชวนจิตทั้ง ๗ ของติกขบุคคล คืออุปจาระ อนุโลม โคตรภู มรรค และผลญาณ ๓ ขณะแล้ว จึงมีภวังค์มาคั่น จากนั้นจึงเป็นปัจจเวกขณญาณ สำหรับอนุโลมญาณของติกขบุคคล คืออุปจาระ อนุโลม ทั้ง ๒ นี้รวมกัน จะไม่มีบริกรรม
การเกิดขึ้นของญาณที่ ๑๒-๑๖ บางท่านใช้เวลาเพียงแค่ ๕ วินาที ในลักษณะของการจะเข้าสู่มรรควิถี ต้องทำให้เกิดมีอาการไหวของจิตเสียก่อน จิตลงภวังค์ไม่ได้หันไปลงทางมโนทวาร (คือทางใจ) อดีตภวังค์ ภวัคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ มโนทวาราวัชชนะ จะเกิดขึ้นคนละ ๑ ขณะ ขึ้นจากมโนทวารแล้วได้บริกรรม เกิดอุปจาระขึ้นมา พอถึงอนุโลมดับวูบลงไปเราก็จำได้ว่าดับลงไปขณะไหน ขณะท้องพองหรือขณะท้องยุบหรือกำหนดถึงขณะไหนจึงดับไป อนุโลมญาณสามารถจำได้จริงๆ ไม่ใช่คาดคะเนหรือเดาเอา สำหรับติกขบุคคล (ผู้มีปัญญา) จะรู้ว่ามันจะดับอีกแล้ว เออ….มันจะดับอีกแล้ว ทั้งๆ ที่สติยังใสแจ๋วอยู่นั่นแหละ มันดับวูบลงไปเลย มันไม่น่าจะดับเพราะสติใสแจ๋วจริงๆ เหมือนไม่มีสนิมในใจแม้แต่นิดเดียว ตั้งแต่เกิดมาสติวันนี้แหละใสแจ๋วที่สุด อนุโลมญาณเกิดขึ้น ๑ ขณะจิต โคตรภูญาณก็จะเกิดขึ้น ๑ ขณะจิตแล้วก็จะดับลงไป มรรคญาณก็จะเกิดขึ้น ๑ ขณะจิตแล้วก็ดับลงไป ผลจิตเกิดขึ้น ๒ ขณะจิตหรือ ๓ ขณะจิตแล้วแต่ชนิดของบุคคล สำหรับมันทบุคคลเกิด ๒ ขณะจิต ติกขบุคคลเกิด ๓ ขณะจิตผลญาณนี้เป็นกำไรที่มรรคประหานกิเลส แล้วก็ตัดภวังค์ต่อมโนทวารขึ้นสายใหม่ คือสายของมรรคแล้วก็บริกรรมต่อ เมื่อลงภวังค์และขึ้นจากภวังค์แล้ว ก็จะขึ้นสู่ปัจจเวกขณะ พิจารณาว่าเราละกิเลสไปได้เท่าไรแล้ว ถ้าคิดว่าเออ…เราเป็นอะไรไป เราง่วงนอนหรืออย่างไร เป็นปริยัติไปแล้ว มันทบุคคลจะบังคับเข้าผลสมาบัติเลยไม่ได้
การจำได้ สามารถจำได้เฉพาะอนุโลมญาณ และปัจจเวกขณญาณเท่านั้น ญาณที่ ๑๓-๑๔-๑๕ จำไม่ได้ และประเภทติกขบุคคลไม่มีบริกรรม ผลจิตก็มี ๓ ขณะ เมื่อลงทางมโนทวาร กำหนดพองหนอ ยังไม่กำหนดเลย มันเฉียดมรรคเข้าไปแล้ว เราจึงมักภาวนาไม่ทัน มันดับวูบลงไป รู้สึกตัวขึ้นมาเป็นปัจจเวกขณญาณแล้ว ในขณะมรรคแรกเกิด เป็นโสดาปัตติมรรค ผลเกิดเป็นโสดาปัตติผล ผู้ใดเคยให้ทานมามากจะผ่านทางอนิจจัง คือขณะที่เรากำหนดพองหนอ ยุบหนอไป อาการพอง-ยุบเร็วขึ้นๆ เรากำหนดว่า “รู้หนอๆๆ” ดับวูบลงไปเลยนิพพานของผู้นั้นชื่อว่า อนิมิตตวิโมกข์ ผู้เคยเจริญสมถะมามากจะผ่านทางทุกขังคือขณะกำหนดพองหนอยุบหนอไปๆ อาการพอง-ยุบแน่นเข้าๆ เรากำหนดว่า “แน่นหนอๆๆ” ดับวูบลงไปเลย นิพพานของผู้นั้นชื่อว่าอัปปณิหิตวิโมกข์ ผู้เคยเจริญวิปัสสนามามากแต่ชาติปางก่อนจะผ่านทางอนัตตา คือขณะกำหนดพองหนอ ยุบหนอ อาการพอง-ยุบสม่ำเสมอกันดีแล้วแผ่วเบาลงๆ เล็กลงๆ เรากำหนดว่า “รู้หนอๆๆ” ดับวูบลงไปเลยนิพพานของ ผู้นั้นชื่อว่าสุญญตวิโมกข์ สูญแปลว่างเปล่า คือว่างเปล่าจากโลภะ โทสะ โมหะ ชื่อเหล่านี้เรียกตามพระไตรลักษณ์ ติกขบุคคลสอนง่ายเข้าสมาธิก็นาน
เมื่อจิตออกจากฌานหรือออกจากผลสมาบัติ จิตจะลงภวังค์เสียก่อนแล้วจับเอาอารมณ์อันเป็นบุญกุศลแต่ปางก่อนบุญกุศลนั้น จะเป็นคล้ายเรือทองพาออกจากฌาน หรือพาออกจากผลสมาบัติ ถ้าบุคคลเคยผ่านมรรคครั้งหนึ่งแล้ว เรียกโคตรใหม่ว่าโวทานโคตร (โคตรบริสุทธิ์) ผ่านโวทานโคตรของพระโสดาบันเข้าสู่โคตรของพระสกิทาคามี-พระอนาคามี-พระ อรหันต์ การปฏิบัติในระยะหลังๆ นี้ สภาวะจะชัดขึ้นเรื่อยๆ คือยิ่งปฏิบัติยิ่งละเอียด เช่น ทุกข์เพิ่มขึ้น เวทนาต่างๆ เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ จนสุดท้ายโหมโรงเข้าสู่เราเลย ความแจ่มใสของสติตามลำดับขั้น เช่น พระโสดาบันมีสติแจ่มใส ๒๐% พระสกิทาคามี ๔๐% พระอนาคามี ๘๐% พระอรหันต์มีสติแจ่มใส ๑๐๐% อาการดับไปครั้งที่ ๒ วูบไป ๑-๒ ครั้ง ดับไปครั้งที่ ๓ รู้สึกตัวมีความคิดว่ากิเลสหมดไปหรือยังหนอ แล้วก็วูบลงไปอีกๆ วูบลงไปแต่ละครั้งหายใจไม่ทัน แต่ไม่เกิน ๕ ครั้ง ดับครั้งที่ ๓ นี้ ความเย็นของใจคล้ายๆ สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ดับครั้งสุดท้ายลงทางมโนทวารแล้วสติใสแจ๋ว เกิดมายังไม่เคยมีสติใสปานนี้สภาวะจะค่อยๆ วูบลงไปๆ ไม่เกิน ๑๐ ครั้ง กิเลสเหล่าใดที่ยังดับไม่หมด จะตามไปดับหมด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อริยสัจ ๔ มรรคมีองค์ ๘ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มารวมกันอยู่ในญาณที่ ๑๒ นี่เอง