สิ่งที่วิปัสสนาควรละ

สิ่งที่วิปัสสนาควรละ

           ๑. อวิชชา-โมหะ                            

          ๒. อาสวะ ๔

           ๓. โอฆะ ๔                                  

          ๔. โยคะ ๔

           ๕. คันถะ ๔                                 

          ๖. อุปาทาน ๔

           ๗. อันตราย ๔                              

          ๘. นิวรณ์ ๕

           ๙. มาร ๕

          ๑๐. อันตราย ๗

           ๑๑. อนุสัย ๗                               

          ๑๒. .ปลิโพธ ๑๐

           ๑๓. กิเลส ๑๐                               

          ๑๔. สังโยชน์ ๑๐

           ๑๕. ทุจริต ๑๐

๑. อวิชชา-โมหะ

(ความไม่รู้ ๘ ประการ)

           ๑. ไม่รู้ทุกข์

           ๒. ไม่รู้เหตุให้เกิดทุกข์

           ๓. ไม่รู้ความดับทุกข์

           ๔. ไม่รู้หนทางดับทุกข์

           ๕. ไม่รู้เบื้องต้น

           ๖. ไม่รู้เบื้องปลาย

           ๗. ไม่รู้ทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย

           ๘. ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท

๒. อาสวะ ๔

(เครื่องหมักดอง ๔ ประการ)

           ๑. กามาสวะ อาสวะ คือ กาม

           ๒. ภวาสวะ อาสวะ คือ ภพ

           ๓. ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ทิฐิ

           ๔. อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา

๓. โอฆะ ๔

(ห้วงน้ำ ๔ ประการ)

           ๑. กาโมฆะ โอฆะ คือ กาม

           ๒. ภโวฆะ โอฆะ คือ ภพ

           ๓. ทิฎโฐฆะ โอฆะ คือ ทิฐิ

           ๔. อวิชโชฆะ โอฆะ คือ อวิชชา

๔. โยคะ ๔

(สิ่งที่ประกอบสัตว์ให้ติดอยู่ในวัฏฏะ)

           ๑. กามโยคะ โยคะ คือ กาม

           ๒. ภวโยคะ โยคะ คือ ภพ

           ๓. ทิฏฐิโยคะ โยคะ คือ ทิฐิ

           ๔. อวิชชาโยคะ โยคะ คือ อวิชชา

๕. คันถะ ๔

(ความเกี่ยวข้องผูกพัน ๔ ประการ)

           ๑. อภิชฌากายคันถะ ความเพ่งเล็งอยากได้

           ๒. พยาบาทกายคันถะ ความปองร้าย

           ๓. อิทังสัจจาภินิเวสกายคันถะ ความเห็นผิดเป็นเหตุถือตัว

           ๔. สีลัพพตปรามาสกายคันถะ ความยึดถือสิ่งอื่นๆ

๖. อุปาทาน ๔

(ความยึดมั่น ๔ ประการ)

           ๑. กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม

           ๒. ทิฏฐุปาทาน ความยึดมั่นในทิฐิ

           ๓. สีลัพพตุปาทาน ความยึดมั่นในศีลพรต

           ๔. อัตตวาทุปาทาน ความยึดมั่นในวาทะของตน

๗. อันตราย ๔

(สิ่งขัดขวาง ๔ ประการ)

           ๑. กิเลสมิจฉาทิฏฐิ กิเลสเป็นเหตุให้เห็นผิด

           ๒. กรรม อนันตริยกรรม

           ๓. วิบาก เกิดเป็นเปรต อสุรกาย เดรัจฉาน

           ๔. อริยูปวาท กล่าวร้ายพระอริยเจ้าหรือผู้ปฏิบัติเหมือนพระอริยเจ้า

๘. นิวรณ์ ๕

(สิ่งขวางกั้น ๕ ประการ)

           ๑. กามฉันทะ ความพอใจในกาม

           ๒. พยาบาท ความปองร้าย

           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อถอย

           ๔. อุทธัจจะ กุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ

           ๕. วิจิกิจฉา ความสงสัย

๙. มาร ๕

(สิ่งที่ยังกุศลธรรมให้ตาย ๕ ประการ

           ๑. กิเลสมาร โลภะ โทสะ โมหะ เป็นมาร

           ๒. ขันธะมาร ขันธ์ ๕ เป็นมาร

           ๓. มัจจุมาร ความตายเป็นมาร

           ๔. อภิสังขารมาร การปรุงแต่งเป็นกรรมเป็นมาร

           ๕. เทวปุตตมาร เทวดาเป็นมาร

๑๐. อันตราย ๗

(สิ่งขัดขวาง ๗ ประการ)

           ๑. กัมมารามตา มัวทำงานไม่มีสติ

           ๒. นิททารามตา มัวนอน

           ๓. ภาสารามตา มัวคุย

           ๔. สังคณิการามตา มัวคลุกคลีกับหมู่คณะ

           ๕. อคุตตทวารามตา ไม่สำรวมทวาร ๖

           ๖. อโภชเนมัตตัญญุตา ไม่รู้จักประมาณอาหาร

           ๗. จิตตัง วิมุตตัง นะ ปัจจเวกขติ ไม่พิจารณาจิตที่หลุดพ้นแล้ว

๑๑. อนุสัย ๗

(สิ่งที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ๗ ประการ)

           ๑. กามราคะ ความอยากได้ในกาม อนาคามิมรรคถอนได้

           ๒. ภวราคะ ความอยากได้ในภพ อรหัตตมรรคถอนได้

           ๓. ทิฎฐิ ความเห็นผิด โสดาปัตติมรรคถอนได้

           ๔. มานะ ความถือตัว อรหัตตมรรคถอนได้

           ๕. ปฏิฆะ ความโกรธ อนาคามิมรรคถอนได้

           ๖. วิจิกิจฉา ความสงสัย โสดาปัตติมรรคถอนได้

           ๗. อวิชชา ความไม่รู้ อรหัตตมรรคถอนได้

๑๒. ปลิโพธ ๑๐

(เครื่องกังวล ๑๐ ประการ)

           ๑. อาวาสปลิโพธ ห่วงอาวาส

           ๒. ลาภปลิโพธ ห่วงลาภสักการะ

           ๓. โภคปลิโพธ ห่วงทรัพย์

           ๔. กัมมปลิโพธ ห่วงการงาน

           ๕. โรคปลิโพธ ห่วงโรค

           ๖. อัทธานปลิโพธ ห่วงการเดินทางไกล

           ๗. คณปลิโพธ ห่วงหมู่คณะ

           ๘. ญาติปลิโพธ ห่วงญาติ

           ๙. คันถปลิโพธ ห่วงการเล่าเรียน

           ๑๐. อิทธิปลิโพธ ห่วงการแสดงฤทธิ์

๑๓. กิเลส ๑๐

(เครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ๑๐ ประการ)

           ๑. โลภะ ความอยากได้อารมณ์ทั้ง ๖

           ๒. โทสะ ความโกรธทำให้ใจเศร้าหมอง

           ๓. โมหะ ความหลงไม่รู้สิ่งต่างๆ

           ๔. อหิริกะ ความไม่ละอายบาป ไม่ละอายการกระทำบาป

           ๕. อโนตัปปะ ความไม่เกรงกลัวบาป ไม่กลัวผลของการทำบาป

           ๖. ทิฎฐิ ความเห็นผิดในสิ่งต่างๆ

           ๗. มานะ ความถือตัว ด้วยมานะทั้ง ๙

           ๘. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่างๆ

           ๙. ถีนะ ความหดหู่ท้อถอยต่ออารมณ์ต่างๆ

           ๑๐. วิจิกิจฉา ความสงสัยในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

๑๔. สังโยชน์ ๑๐

(เครื่องผูกมัดให้ติดอยู่ในภพ ๑๐ ประการ)

           ๑. สักกายทิฐิ ความเห็นผิดเป็นเหตุให้ถือตัวตน

           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

           ๓. สีลัพพตปรามาส ความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วยศีลพรตอย่างนั้นอย่างนี้

           ๔. กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลส เรียกแต่เพียงราคะก็มี

           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ได้แก่ความหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ เรียกโทสะตรงทีเดียว ก็มี

          (๕ ข้อนี้เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำ คือ อย่างหยาบ เรียกว่า “โอรัมภาคิยสังโยชน์” พระอนาคามีตัดได้ขาด)

           ๖. รูปราคะ ความติดในรูปธรรม เช่น ชอบใจในบุคคลบางคนหรือพัสดุบางสิ่งหรือแม้ในวัตถุ อันเป็นอารมณ์แห่งรูปฌาน

           ๗. อรูปราคะ ความติดอยู่ในอรูปธรรม เช่น พอใจในสุขเวทนาอันเป็นอารมณ์แห่งอรูปฌาน

           ๘. มานะ ความสำคัญว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่

           ๙. อุทธัจจะ ความคิดพล่าน เช่น นึกอะไรก็เกินไปกว่าเหตุ

           ๑๐. อวิชชา ความหลง เป็นเหตุไม่รู้จริงอีก

          (๕ ข้อนี้ เรียกว่า “อุทธัมภาคิยะสังโยชน์” นี้ พระอรหัตตมรรคตัดขาดได้สิ้นเชิง)

๑๕. ทุจริต ๑๐

(ความประพฤติชั่ว ๑๐ ประการ)

           ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์

           ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์

           ๓. กาเมสุมิจฉาจารา ประพฤติผิดในกาม

           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ

           ๕. ปิสุณวาสจา พูดส่อเสียด

           ๖. ผรุสวาจา พูดหยาบ

           ๗. สัมผัปปลาปา พูดเพ้อเจ้อ

           ๘. อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้

           ๙. พยาบาท ความปองร้าย

           ๑๐. วิหิงสา ความเบียดเบียน